|
|
|
|
|
|
จดหมายข่าวรำไพพรรณี |
|
RBRU NEWSLETTER | NO.568 ■
OCTOBER 2022
หน่วยประชาสัมพันธ์ งานบริหารงานทั่วไป กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
|
|
|
|
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี บูรณาการความร่วมมือกับตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรีและณะสงฆ์ จัดโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2 |
8 ตุลาคม 2565 (09:00 น.) 8 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมสริรำไพพรรณ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี เป็นประธานโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ มีพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม, พลตำรวจโท ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ, นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี, ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ประธานกรรมการกองทุนคชานุรักษ์, พลตำรวจตรี นันทวุฒิ สุวรรณละออง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และผู้แทนชุมชนร่วมเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
การจัดโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2 นี้ สืบเนื่องจากพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในจังหวัดจันทบุรี จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 มีประชาชนในชุมชนร่วมสะท้อนถึงปัญหา ทำให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนในหลายประเด็น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจัดเวทีประชาคมฯ ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็น โดยในเวทีนี้มีแกนนำจากพื้นที่กว่า 100 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าร่วมกันนำเสนอผลการดำเนินโครงการกองทุนพัชรสุธาคชานุรักษ์ การแก้ปัญหาผลกระทบจากช้างป่าด้วยแนวทางกิจการเพื่อสังคม และทบทวนข้อมูลจากเวทีประชาคม ครั้งที่ 1 ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มเวทีอภิปราย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ และภาคประชาชน
ในส่วนของผลการปภิปรายนั้น มีการสรุปผลการอภิปราย และจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาออกเป็น 4 ลำดับ ได้แก่ การดูแลกลุ่มจิตอาสาเฝ้าระวังผลักดันช้าง โดยให้มีการขึ้นทะเบียน เพิ่มเงินสวัสดิการและการจ่ายค่าตอบแทนที่คุ้มค่า รวมถึงการแก้ไขกฏหมายให้เข้ากับสถานการณ์ , การเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เป็นป่าที่เกิดประโยชน์เพื่อชะลอปัญหาช้าง โดยการพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารและที่พักของช้างป่า , การพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวของจิตอาสาเฝ้าระวังผลักดันช้าง โดยเพิ่มความสะดวกด้านข้อกฏหมายในการปฏิบัติหน้าที่ และการพัฒนาระบบเรดาห์ตรวจจับช้างป่า ให้สามารถระบุพกัดช้างได้ตามพิกัดและเวลาจริง |
|
|
ข่าว : ณพล วงศ์ชัย|หน่วยประชาสัมพันธ์ฯ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
PUBLIC RELATIONS OF RAMBHAI BARNI RAJABHAT UNIVERSITY
41 M.5 Tachang, Muang, Chanthaburi Thailand 22000 ✆ 0-3931-9111
✉ saraban@rbru.ac.th
https://pr.rbru.ac.th
|
|
|
|