ผลการดำเนินงาน
ธนาคารขยะ
กิจกรรม5ส.
แจ้งปัญหาสิ่งแวดล้อม
ประกาศและเอกสาร
สื่อประชาสัมพันธ์
สินค้าบริการเพื่อสิ่งแวดล้อม
ระบบจัดการข้อมูล
menu
eco
สรุปผลการดำเนินงานปี 2567
การดำเนินงานปีที่ผ่านมา
การจัดการขยะ ประเภท E-waste ยังไม่ได้มีการจัดวางระบบการทิ้งอย่างชัดเจน หากกำจัดไม่ถูกวิธีก็อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
การคัดแยกขยะประเภท กล่อง UHT คณะกรรมการตรวจประเมินตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียว (ประเมินภายใน) ได้เสนอแนะให้คัดแยกขยะประเภทนี้เพิ่มเติม เพราะสามารถรีไซเคิลได้ หากมีการล้างและคัดแยกอย่างถูกวิธี
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไม่พร้อมใช้งาน
การดำเนินงานในปัจจุบัน
สำนักงานอธิการบดีได้ทำความร่วมมือกับบริษัท AIS ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในการรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สำนักงานอธิการบดีได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อปรับปรุงระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
สำนักงานอธิการบดีได้ประสานงานกับกลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งและสิ่งแวดล้อม "กล่องวิเศษ" ในการให้ความรู้จากการคัดแยกและทำความสะอาด กล่อง UHT กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ก่อนนำไปรีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์เป็นแผ่นชิปบอร์ด (Chipboard) ทำโต๊ะและและเก้าอี้ ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร
ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินงานด้านคัดแยกขยะ E-waste กับกล่อง UHT จะต้องได้รับความร่วมมือ จากบุคลากรเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกวิธี ซึ่งต้องสอดแทรกความรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงานอธิการบดีที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดทัศนคติและแรงจูงใจ จึงจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
แนวทางการแก้ไขและสร้างความต่อเนื่องยั่งยืนให้โครงการ
กำหนดให้ผู้รับผิดชอบโครงการขยะ E-waste และขยะ UHT ต้องรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานต่อผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ทุก 2 เดือน และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการต้องนำมาตรการทดลอง ไปบรรจุในเป็นมาตรการหลักของสำนักงานอธิการบดีเพื่อดำเนินงานในปีถัดไป เพื่อสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะของบุคลากรให้เกิดความยั่งยืน
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
สำนักงานอธิการบดีได้จัดทำความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายกับทางบริษัท AIS ซึ่งทางบริษัทพร้อมที่จะมาทำกิจกรรมร่วมกันและให้ความร่วมมือในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ E-waste และแอพลิเคชันสำหรับใช้ในการบริหารจัดการขยะ E-waste+
ขยะประเภทกล่อง UHT สามารถที่จะคัดแยกเพิ่มเติมได้แต่ต้องมีการให้ความรู้แก่บุคลากรและนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บกล่องอย่างถูกวิธี (ตัดและล้างกล่องก่อนนำขยะดังกล่าวมาทิ้ง)
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นเรื่องที่หน่วยงานต้องดำเนินการจัดวางดังกล่าวให้พร้อมใช้งาน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการ
ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า เปรียบเทียบค่าเป้าหมาย ของสำนักงานอธิการบดี 2567
ข้อมูลทรัพยากรน้ำ เปรียบเทียบค่าเป้าหมาย ของสำนักงานอธิการบดี 2567
ข้อมูลทรัพยากรกระดาษ เปรียบเทียบค่าเป้าหมาย ของสำนักงานอธิการบดี 2567
สรุปปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามค่าเป้าหมาย สำนักงานอธิการบดี 2567
ติดต่อ
โทร : 0-3931-9111 ต่อ 10130-10134
อีเมล์ :
building@rbru.ac.th
เว็บไซต์ :
https://pr.rbru.ac.th/green/
เฟซบุ๊ก :
สำนักงานสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คณะกรรมการสำนักงานสีเขียว สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 41 ม.5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
UI GREEN METRIC
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กรมควบคุมมลพิษ
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มรภ.รำไพพรรณี
มหาวิทยาลัยสีเขียว มรภ.รำไพพรรณี
©2024 PR-RBRU INFORMATION SYSTEMS
Developed by : Kritidech Mongkolkit