ID | RBRU PUBLIC RELATIONS - Official Site

HOME > CONTENT > อุตสาหกรรมรำไพ กับการดำเนินงาน คอ.ศช. ครั้งที่ 15

อุตสาหกรรมรำไพ กับการดำเนินงาน คอ.ศช. ครั้งที่ 15
ณพล วงศ์ชัย

2024/01/31 12:00 น.  🔎 55 Views

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เป็นเจ้าภาพในการการนำเสนอผลงาน โครงงานด้านวิชาการ วิจัย นวัตกรรมของนักศึกษา ที่บูรณาการเข้ากับศิลปะและวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืน ตามโครงการเครือข่ายระดับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านกิจการนักศึกษา

ความสำคัญของ คอ.คช.

โครงการเครือข่ายระดับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านกิจการนักศึกษา และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ระดับชาติ (คอ.คช. ) เป็นโครงการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระหว่างสโมสรนักศึกษาฯ ของสมาชิกเครือข่าย กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และกิจกรรมของนักศึกษา เพื่อบูรณาการกับการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและ วัฒนธรรม กิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนานักศึกษาภายใต้เกณฑ์คุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และการบูรณาการกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมด้านการพัฒนาท้องถิ่น

สิ่งใดคือกิจกรรมที่น่าสนใจด้านการพัฒนาท้องถิ่น

งานนี้มีการประกวดระดับชาติด้านโครงงานพิเศษ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบูรณา การกับการเรียนรู้ชุมชน ศิลปะและวัฒนธรรม และการประกวดการแสดงที่เกี่ยวกับการนำผลการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษาแต่ละสถาบัน ที่สามารถตอบผลการดำเนินงาน ตามเกณฑ์การประเมินตามตัวบ่งชี้มาตรฐานของอุดมศึกษา

มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมจากหลากหลายสถาบัน

โครงการดังกล่าวมีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเข้าร่วมทั้งหมด 10 สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร และสาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 

เป้าประสงค์ของการจัดการประกวดโครงงาน

ในส่วนของการประกวดโครงงานด้านวิชาการ วิจัย นวัตกรรมของนักศึกษาในครั้งนี้ มีการกำหนดเป้าประสงค์หลักของโครงงาน ที่ต้องสามารถบูรณาการเข้ากับศิลปะและวัฒนธรรม สู่ความยั่งยืนได้ โดยที่แต่ละสถาบันการศึกษาได้มีการวางแผนจัดทำโครงงาน ก่อนที่จะมีการนำเสนอรูปแบบผลงานการประกวดให้กับคณะกรรมการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 เป็นต้นมา และนำเสนอให้กับคณะกรรมการพิจารณาโครงงานในวันนี้ ซึ่งแต่ละโครงงานนั้นได้มีการชูเอกลักษ์ประจำถิ่นเพื่อนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างน่าสนใจ

ตัวอย่างโครงงานที่น่าสนใจ

โครงงานที่มีความโดดเด่น เช่น การสร้างสรรค์หัตถกรรมอัตลักษณ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ในชื่อ ยาดมไพรสวรรค์ , การศึกษาและออกแบบภาพประกอบอาหารพื้นเมืองจังหวัดจันทบุรี ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน , โครงการหุ่นยนต์เป่าขลุ่ยเพียงอออัตโนมัติ อ่าตัวโน้ตด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ , การศึกษาและออกแบบของที่ระลึก โมเดลกระดาษสามมิติ ชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี , การออกแบบกระเป๋าจากเทคนิคพิมพ์ลายผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ 

บทส่งท้ายในการดำเนินงาน คอ.ศช. ครั้งที่ 15

ความสำเร็จของการนำเสนอโครงการดังกล่าว ไม่ได้อยู่ที่ผลรางวัลที่นักศึกษาแต่ละสถาบันจะได้รับ หากแต่อยู่ที่ตัวนักศึกษาเอง ที่จะได้มีโอกาสในการพัฒนาแนวคิด รู้จักการทำงานแบบมีกระบวนการ เสริมสร้างทักษะด้านการออกแบบ รวมถึงการรับฟังแนวคิดจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน เพื่อนำแนวคิดและประสบการณ์จากการทำโครงงานดังกล่าว ไปเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดในการทำงานในอนาคต นอกจากนี้หลายโครงงานมีการสอดแทรกการนำเสนอรูปแบบของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม และสินค้า เพื่อสร้างอัตลักษ์ให้แก่ชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนสามารถสร้างตัวตนให้มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนให้ รู้สึกหวงแหนมีความเป็นเจ้าของชุมชนอีกด้วย


SHARE LineFacebookTwitterInstagramTikTokRedditTelegram   หน่วยประชาสัมพันธ์ งานบริหารงานทั่วไป กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


ค้นหาบทความ
หน่วยประชาสัมพันธ์ งานบริหารงานทั่วไป กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
41 ม.5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 โทร.0-3931-9111 ต่อ 0 อีเมล์ saraban@rbru.ac.th
©2024 RBRU PUBLIC RELATIONS
POWERED BY : KRITIDECH MONGKOLKIT